วันจันทร์ที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2552

มะเร็งผิวหนัง


มะเร็งผิวหนังเป็นมะเร็งที่พบได้น้อย ประมาณร้อยละ 5 ของมะเร็งทั้งหมด มักพบในผู้ที่มีอายุมาก กว่า 40 ปี และพบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง
ปัจจัยที่เป็นสาเหตุของมะเร็งผิวหนัง
1. แสงอัลตราไวโอเลต (UVA,UVB) พวกที่ต้องทำงานกลางแดด เล่นกีฬากลางแจ้ง ชอบอาบแดด จะมีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดมะเร็งผิวหนัง
2. เชื้อชาติ คนผิวขาว ผมสีบลอนด์ ผิวไหม้แดดง่าย มีโอกาสเสี่ยงสูง เพราะมีเม็ดสีที่ผิวหนังน้อย ความสามารถในการป้องกันเซลล์ผิวหนังจากแสงอัลตราไวโอเลตจึงน้อยกว่าคนผิวคล้ำ คนที่เป็นโรคผิวหนัง Albinism ซึ่งมีความผิดปกติของการสร้างเม็ดสี จะพบมะเร็งผิวหนังได้บ่อย
3. การได้รับสารเคมีก่อมะเร็ง เช่น สารหนูที่ปนอยู่ในน้ำ ยาหม้อ ยาไทย ยาจีน ยาลูกกลอน
4. แผลเป็นจากไฟไหม้ น้ำร้อนลวก แผลจากผื่นผิวหนังบางโรค เช่น DLE
5. มีประวัติคนในครอบครัวเป็นมะเร็งผิวหนัง
6. เชื้อไวรัสบางชนิด เช่น HPV ที่ทำให้เกิดหูดที่อวัยวะเพศ
7. ภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง เช่น ได้รับยากดภูมิคุ้มกันหลังการปลูกถ่ายไต
8. ผิวหนังในบริเวณที่เคยได้รังสีรักษา
9. คนที่สูบบุหรี่นานๆ จะเกิดมะเร็งในช่องปากได้
ภาพประกอบจาก Internet
การป้องกันและรักษา
มะเร็งทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นที่อวัยวะใด ถ้าสามารถตรวจพบตั้งแต่แรก และกำจัดเซลล์ที่ผิดปกติออกได้หมด ก็สามารถหายขาดได้ มะเร็งผิวหนังมีข้อเด่นคือ ผิวหนังเป็นอวัยวะที่ห่อหุ้มอยู่ภายนอก เราสามารถมองเห็นได้ จึงทำให้สามารถตรวจพบความผิดปกติในระยะเริ่มแรกได้รวดเร็ว และยังติดตามการรักษาได้ง่าย
คนปกติทั่วไป จะมีเม็ดไฝ ขี้แมลงวัน เกิดขึ้นตามผิวหนังได้ทุกช่วงอายุ พออายุมากขึ้นก็มีพวกกระ หูด ติ่งเนื้อต่างๆ เราจะทราบได้อย่างไรว่า รอยโรคใดอาจเป็นมะเร็งผิวหนัง



อาการที่บอกว่าอาจเป็นมะเร็งผิวหนัง
1. ไฝที่เป็นอยู่เดิม มีรูปร่างเปลี่ยนไป อาจใช้หลักง่ายๆ คือ ABCD ดังนี้ A= ASYMMETRY ลักษณะของไฝทั้งสองข้างไม่เหมือนกันB=BORDER IRREGULARITY ขอบของไฝไม่เรียบC=COLOR สีของไฝไม่สม่ำเสมอD=DIAMETER ขนาดของไฝใหญ่กว่า 6 มม.
2. มีผื่นหรือก้อนที่เกิดขึ้นใหม่ และไม่หายใน4-6 สัปดาห์
3. ไฝหรือปานที่โตเร็ว และรูปร่างเปลี่ยนไปจากเดิม มีอาการคัน แตกเป็นแผล และมีเลือดออก
4. แผลเรื้อรังไม่หายใน 4 สัปดาห์
ภาพเปรียบเทียบมะเร็งผิวหนังกับไฝธรรมดา ภาพด้านบนเป็นภาพมะเร็งผิวหนังชนิดเมลาโนมา (แถบซ้าย) เทียบกับไฝธรรมดา (แถบขวา) สูตรในการตรวจคือ 'ABCD' ได้แก่ 'asymmetry (ไม่สมมาตร หรือแบ่งเป็น 2 ซีกคู่แฝดไม่ได้) ไม่เหมือนไฝที่มักมีรูปคล้ายลู่แข่งวิ่ง, 'border (ขอบไม่เรียบ ไม่สม่ำเสมอ), 'color' (มีสีหลายสีในก้อน), 'diameter' (เส้นผ่าศูนย์กลางเกิน 6 มิลลิเมตร ข้อนี้ไม่ชัดเจนเท่า 3 ข้อข้างต้น)
ภาพมะเร็งผิวหนัง

ขอขอบคุณ พ.ญ. สุหัทยา อังสุวรังษี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น